เขียนโดย Super User
ฮิต: 11009

 

 

อุบัติเหตุจากสารเคมีเข้าตา อาจเกิดจาก

 

1.อุบัติเหตุ จากการทำงาน เช่น โดนสารเคมีที่ใช้ในโรงงาน เช่น โซดาไฟ โดนน้ำจากแบตเตอรี่รถยนต์ โดนน้ำยาล้างหรือน้ำยาขัดห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง ยาฉีดกันยุง ได้รับสารเคมีผงคาร์บอนไดออกไซด์เข้าตาขณะไปช่วยดับเพลิงแล้วถังเกิดระเบิด

 

2. การโดนทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้น้ำกรดสาดหน้า แล้วโดนตาทั้ง 2 ข้าง หรือโดนก๊าซน้ำตา

 

ซึ่งสารเคมีโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ กรด และด่าง

 

โดยทั่วไป ด่าง มีความรุนแรงมากกว่ากรด สามารถทำลายเปลือกตา เยื่อบุตา ผิวนอกของกระจกตา และยังสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปทำลายดวงตา และส่วนต่างๆ ภายในดวงตาได้ เช่น ทำให้เกิดม่านตาอักเสบ ต้อกระจก และต้อหิน

 

ส่วนกรด การทำลายมักจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณผิวชั้นนอกของลูกตา เปลือกตา เยื่อบุตา ผิวกระจกตา เนื่องจากคุณสมบัติของกรด เมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อแล้ว ทำให้โปรตีนแข็งตัวรวมกัน เป็นเหมือนผนังกั้นไม่ให้กรดนั้นซึมผ่านเข้าไปในลูกตาได้อีก เพราะฉะนั้น การทำลายที่เกิดขึ้นจากกรดมักจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณชั้นผิวตื้นๆ เท่านั้น

 

ทั้ง นี้ อันตรายของสารเคมีเข้าตายังขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคมี ปริมาณสารเคมีที่เข้าตา และระยะเวลาที่สัมผัส แม้ด่างจะรุนแรงกว่ากรด แต่ถ้ากรดที่มีความเข้มข้นสูงจะมีความรุนแรงไม่แพ้ด่างทีเดียว

 

อีก ทั้งระยะเวลาที่สารเคมีสัมผัสดวงตา หรือส่วนต่างๆ ภายในดวงตา ถ้าสัมผัสอยู่นาน ก็จะมีความเสียหายของดวงตามาก ถ้าความเสียหายของตาไม่รุนแรง สามารถหายเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที

 

แต่ถ้าความเสียหายของตารุนแรงมากจะรักษายาก แม้จะรักษาเต็มที่ ก็อาจสูญเสียดวงตา มีภาวะแทรกซ้อนในตามากจนถึงตาบอดในที่สุด

 

อาการที่เกิดจากสารเคมีเข้าตา มีดังนี้

 

 

 

ใน รายที่มีความเสียหายของตามาก จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นทำให้เปลือกตาผิดรูปไป เช่น ขนตาม้วนเข้า หรือม้วนออก ตาแห้งชนิดรุนแรง เยื่อบุตาติดกับเปลือกตา ทำให้กรอกตาหรือเปิดเปลือกตาไม่ได้ กระจกตาเป็นฝ้าขาว มีเส้นเลือดเข้ามาในกระจกตา กระจกตาบางลงจนถึงทะลุได้ มีต้อหินและต้อกระจกแทรกซ้อนและตาบอดในที่สุด

 

รู้ ถึงความรุนแรงของสารเคมีเข้าตาแล้ว สิ่งที่ต้องทำทันที คือ การล้างตาด้วยน้ำสะอาดที่อยู่ใกล้มือที่สุด ถ้าหาน้ำอะไรไม่ได้ให้ใช้น้ำประปาล้างมากๆ นาน 20–30 นาที ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและปริมาณของสารเคมีที่เข้าตา

 

การ ใช้น้ำล้างมากๆ ก็เพื่อลดหรือละลายความเข้มข้นของสารเคมีที่เข้าตา ถือเป็นการรักษาที่สำคัญมากที่สุดและได้ผลดีที่สุด ทั้งช่วยลดความรุนแรงของสารเคมีที่จะทำลายส่วนต่างๆ ของตา และป้องกันไม่ให้สารแทรกซึมผ่านเข้าไปภายในลูกตา

 

ผู้ ที่ใส่คอนแทกต์เลนส์ เมื่อโดนสารเคมีเข้าตา หรือโดนก๊าซน้ำตา ต้องรีบถอดคอนแทกต์เลนส์ออก เนื่องจากคอนแทกต์เลนส์จะดูดซับสารเคมี หรือก๊าซน้ำตาไว้ในคอนแทกต์เลนส์ และใต้คอนแทกต์เลนส์ หลังจากนั้นจึงรีบล้างตา

 

สิ่ง ที่ไม่ควรทำ คือ รอพบจักษุแพทย์โดยไม่ล้างตามาก่อน ซึ่งสารเคมีจะซึมผ่านเข้าตา เกิดการทำลายเยื่อบุตา กระจกตาและส่วนต่างๆ จนทำให้เกิดความเสียหาย ยากต่อการรักษาแก้ไข และเมื่อมาพบจักษุแพทย์ แพทย์จะรีบล้างตาให้อีกครั้ง ซึ่งผู้ป่วยมักจะปวดและเคืองตา จึงมักหยอดยาชาให้ก่อน แล้วใช้เครื่องมือเล็กๆ ถ่างเปลือกตาไว้ เพื่อให้ล้างได้สะอาด โดยใช้น้ำเกลือเป็นขวดต่อสายยางจากขวดมาเปิดที่ตา

 

ในรายที่ไม่รุนแรง จะใช้เวลาล้างตาประมาณ 30 นาที หรือใช้น้ำประมาณ 2 ลิตร ถ้ารุนแรง อาจต้องล้างนาน 2-4 ชม.หรือใช้น้ำ 8-10 ลิตร

 

ขณะ ที่ล้าง แพทย์จะใช้ไม้พันสำลีเช็ดเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกจากตาให้หมด และตรวจค่าความเป็นกรดด่าง โดยใช้แผ่นกระดาษทดสอบเป็นระยะๆ จนกระทั่งเป็นกลาง จึงหยุดล้าง และตรวจตาซ้ำอีกครั้ง

 

โดย พลิกเปลือกตาดูให้ละเอียด ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วยังติดค้างอยู่ ก็ต้องเอาออกให้หมด ตลอดจนตรวจความเสียหายของส่วนต่างๆ ในตา และเริ่มให้การรักษาด้วยยาหยอดตาลดอาการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ พร้อมให้ยาแก้ปวดรับประทาน

 

ฉะนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการทำงานที่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรสวมแว่นตา หรือหน้ากากและสวมถุงมือไว้ป้องกันตัว และข้อสำคัญ ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท

 

 ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVและหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ