- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 8754
- ไนโตรเจน 69 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่า 58.50 บาทต่อไร่
- ฟอสฟอรัส 0.8 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่า 8.80 บาทต่อไร่
- โพแทสเซียม 15.6 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่า 117.00 บาทต่อไร่
ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า ลดต้นทุนแล้วผลผลิตก็ลดลงไปด้วย ก็ไม่มีประโยชน์ พี่น้องเกษตรกรในแต่ละอาชีพต้องพิจารณาดู และปฏิบัติโดยด่วนจะเกิดผลดี คือมีผลกำไรมาก เราลองมายกตัวอย่างในการทำนาว่าเราจะลดต้นทุนอะไรได้บ้าง
ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์มากเกินความจำเป็น ในการทำนาหว่านน้ำตมตั้งแต่เริ่มแรกให้ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 15 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ปัจจุบันมีการหว่านกันมากถึง 35 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 45 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อไปถามหาเหตุผลว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น มักได้รับคำตอบว่า หว่านเผื่อนก เผื่อหนูเผื่อหอยเชอรี่ ที่มาทำลายต้นข้าว ผลที่ตามมาคือเปลืองเมล็ดพันธุ์ ข้าวขึ้นแน่นเกินไป การระบายอากาศไม่ดี โอกาสเกิดโรคกาบใบแห้งก็มีมาก นำไปสู่ต้องเผาฟางทำลายปุ๋ยอินทรีย์อีกด้วย ปัจจุบันมีการอนุโลมแนะนำ 20 กิโลกรัมต่อไร่ หลายท่านอาจท้วงว่าไม่บางไปหรือ ผมก็ขอให้เราดูเวลาดำนา นายังปักดำห่าง 25x25 เซ็นติเมตร ท้ายสุดข้าวก็เต็มนาเช่นกัน สรุปว่าถ้าเราใช้เมล็ดพันธ์ถูกต้องสามารถลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 25 บาท เราก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 500 บาทต่อไร่ ถ้าทำนา 10 ไร่ ก็ลดไป 5,000 บาท นี่เฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์นะครับ
การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ถ้าเราใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติในการต้านทานโรคแมลงดี ก็ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสูง เมล็ดพันธุ์ถ้ามีการปลอมปนจากเมล็ดวัชพืช วัชพืชจะแย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว ต้องเสียเงินเสียค่าแรงในการกำจัดวัชพืช เป็นการชักศึกเข้าบ้าน วัชพืชจะเข้ามาในพื้นที่เพาะปลูก กว่าจะกำจัดให้หมดไปต้องใช้เวลายาวนาน
ไม่เผาฟางทิ้ง การเผาฟางก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน อาจเป็นข้ออ้างในการรับซื้อผลผลิตในอนาคต การเผาเป็นการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมถึงแมลงที่มีประโยชน์ในนาถูกทำลายไปด้วย การเผาฟางทำให้ปุ๋ยถูกทำลายไป ในเอกสารเรื่องการควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ของกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อปี 2549 ระบุไว้ว่า ในตอซังฟางข้าวมีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ดังนี้
ธาตุอาหารในตอตอซังข้าว
ท่านทำอยู่กี่ไร่ก็ลองคำนวณดู ที่สำคัญคือนอกจากธาตุอาหาร N P K แล้วในฟางข้าวยังมีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะปกติเรามักใส่ปุ๋ยแค่ N P K เท่านั้น การใส่ธาตุอาหารหลักโดยขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม จึงทำให้ข้าวได้ผลผลิตไม่เต็มที่
ถ้าเราไม่ไถแต่เราใช้วิธีไถกลบตอซังข้าวจะทำให้เกิดผลดีมากมาย ดังนี้
o ก่อให้เกิดการฟื้นฟูโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก มีปริมาณอินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ในสัดส่วน 45:5:25:25
o พลิกให้ไข่แมลงและเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดินกลับขึ้นมาฆ่าทำลายด้วยแสงแดด
ทดแทนการเผาทำลาย
o พลิกให้รากวัชพืชกลับขึ้นมาตากแดดให้แห้งตาย
o ส่งผลให้ดินโปร่ง รากพืชชอนไชง่าย พืชเติบโตและหาอาหารได้ง่าย แตกกอดี ผลผลิตดี ผลการศึกษาพบว่า การปลูกข้าวโดยการไถกลบตอซังฟางข้าวให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการเผาฟาง 26%
o ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี
o ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช
o ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน
o ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม
o ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน และอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และส่งผลช่วยลดปริมาณเชื้อรา และโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลง
การใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ในปัจจุบันการใส่ปุ๋ยในนาข้าวมีความเข้าใจผิดว่าต้องใส่ปุ๋ยยูเรียก่อนในระยะข้าวเล็กเพื่อให้ข้าวเขียว เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิด เพราะบางคนมีความไม่เข้าใจคิดว่าต้องเร่งต้นเร่งใบระยะต้นเล็กเหมือนพืชอื่น การใส่ปุ๋ยยูเรียในระยะข้าวเล็ก จะทำให้ข้าวอ่อนแอต่อการเกิดโรคเชื้อรา เช่น ใบไหม้ ใบจุด เป็นต้น ถ้ามากไปข้าวจะบ้าใบไม่สร้างรวง ปกติจะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 กรณีดินเหนียว ส่วนดินทรายใช้สูตร 16-8-8 หรือ 16-12-8 เพื่อเพิ่มโพแทสเซียม เมื่อข้าวตั้งท้องสร้างรวงแล้ว จึงใส่ยูเรีย เพื่อสร้างใบ ต้น ให้สมบูรณ์ เพื่อเลี้ยงรวงข้าวให้สมบูรณ์ เรื่องการใส่ปุ๋ยที่ดีที่สุดคือ ควรใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน ปกติการใส่ปุ๋ยยูเรียถ้าใส่ทีละมาก ๆ อาจเกิดการสูญเสียได้ง่าย การใส่ปุ๋ยโดยขาดการวิเคราะห์ดินจึงเป็นการใส่ที่จะมากไปหรือน้อยไป ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
การใช้สารกำจัดศัตรูพืชโดยขาดการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การที่เราใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสารเคมีจากธรรมชาติป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น เป็นอาการขาดธาตุอาหาร หรือว่าเกิดจากเชื้อรา หรือแบคทีเรีย หรือไวรัส หรือว่าเป็นการทำลายของแมลง นอกจากเป็นการสิ้นเปลืองปัจจัยดังกล่าวแล้วยังเสียค่าจ้างแรงงานโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่วินิจฉัยถูกต้อง เช่น รู้ว่าปัญหาเกิดจากหนอนห่อใบข้าว (ที่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรคใบขาว) ซึ่งหนอนห่อใบข้าวกัดกิน และที่สุดจะเห็นใบมีสีขาว ๆ ถ้ามาฉีดเมื่อเห็นใบขาวก็ไม่มีประโยชน์ เพราะหนอนเข้าดักแด้ไปแล้ว การฉีดพ่นในจังหวะเวลาที่ถูกต้อง อัตราที่ถูกต้อง และวิธีการฉีดพ่นที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การป้องกันกำจัดได้ผล เป็นการลดต้นทุนอย่างมาก
การฉีดพ่นสารเคมีผิด อาจเป็นการทำลายแมลงที่มีประโยชน์ทีควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น การใช้สารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก็ไม่ควรที่จะใช้สารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์เมทริน ไซแฮโลทริน หรือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เช่น ไซเพอร์เมทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์เมทริน แลมบ์ดาไซแฮโลทริน ไซนาโนเฟนฟอส เมทิลพาราไทออน ไอโซซาไทออน ไพริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส เตตระคลอว์วินฟอส เป็นต้น
การเก็บเกี่ยวผิดเวลาและเครื่องมือเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวที่ผิดเวลา จะทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากข้าวมีโอกาสร่วงได้ง่าย การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือระยะพลับพลึง ซึ่งต้องมีการเตรียมการนัดหมายให้พอดี การใช้รถเกี่ยวและนวดข้าวในปัจจุบัน กลายเป็นตัวพาข้าววัชพืช อันได้แก่ ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวนก ข้าวหาง ข้าวแดง ข้าวลาย ระบาดโดยติดไปกับรถเกี่ยวข้าว ซึ่งนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายต่อเนื่องในการกำจัดข้าววัชพืช ดังนั้นการเพิ่มค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยหรือตกลงกับรถเกี่ยวให้ล้างรถให้สะอาดก่อนมาเก็บเกี่ยว จะช่วยลดการแพร่ระบาดของข้าววัชพืชได้เป็นอย่างมาก
การปฏิบัติที่ไม่ถูกวิธี การปฏิบัติที่ไม่ถูกวิธีนำมาซึ่งการเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เช่น กรณีของการสูบน้ำเข้านามากเกินความจำเป็น ทำให้เสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะน้ำที่ไขเข้านาเพียงเพื่อการหล่อเลี้ยงต้นข้าว และการคุมหญ้านั่นเอง
การใช้คนเกี่ยวข้าวดีด ข้าวเด้ง ซึ่งเป็นข้าววัชพืชในนา โดยจ้างแรงงาน 250-300 วันต่อวัน ในการเกี่ยวเอารวงข้าววัชพืชออกจากนาแล้วเอามาทิ้งข้าง ๆ นา ไม่มีประโยชน์เพราะถ้าเกี่ยวต้องเกี่ยวชิดโคน ซึ่งทำยากการป้องกันกำจัดจึงควรใช้การไถล่อ ให้เมล็ดข้าววัชพืชงอกขึ้นมาแล้วย่ำ
โดยไม่จำเป็นต้องเปลืองยาฉีดก็ได้ เพียงแต่เปลืองเวลาเล็กน้อย เพราะข้าววัชพืชเมล็ดจะพักตัวอยู่ประมาณ 3 สัปดาห์
ยังมีกรณีอื่น ๆ อีกมากมายที่เราจะลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นท่านก็ลองนึกดูเอาเอง เช่น การใช้สารเคมีคุณภาพไม่มาตรฐาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ในกรณีพืชอื่น ๆ ท่านก็ลองค่อย ๆ พิจารณาดูว่าอะไรคือต้นทุนที่ไม่จำเป็น และอะไรเป็นต้นทุนที่จำเป็นที่ต้องลงทุน เพราะถ้าเราทำได้ คือเงินที่เราได้มาโดยทันที